ยินดีต้อนรับเข้าสู่องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สายด่วนนายกฯ โทร 096-9362149 สายด่วนรองนายกฯ โทร 098-5366406 , 099-4124330

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

ปลัด




ศาลปกครอง

ปราบปรามทุจริต

E-Learning



ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอบต

ศูนย์ดำรงธรมม







สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 17/06/2563
วันนี้
96
เมื่อวานนี้
124
เดือนนี้
1,291
เดือนที่แล้ว
1,813
ปีนี้
22,835
ปีที่แล้ว
17,414
ทั้งหมด
50,707
ไอพี ของคุณ
34.228.52.21

1
วัดพระเจ้าโท้,องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด,hod.go.th

          วัดพระเจ้าโท้ ใน อ.ฮอด เป็นวัดเด่น วัดสวยและมีประวัติศาสตร์ จนอยากจะมาแนะนำให้ได้ไปเที่ยวชมกัน
      การเดินทางมายังวัดพระเจ้าโท้นั้น ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่ – ฮอด) ขับรถผ่านแยกหอนาฬิกาอำเภอฮอด และขับรถตรงไปทางถนนสายอารยธรรมทางหลวงหมายเลข 1012 (ฮอด - บ.วังลุง) ผ่านสามแยกไปอำเภอดอยเต่า ผ่านโรงพยาบาลฮอด ผ่านวัดหลวงฮอด และขับรถตรงไปเรื่อยๆ จากสามแยกไปอำเภอดอยเต่าถึงวัดพระเจ้าโท้ ประมาณ 12 กิโลเมตร ด้วยกัน วัดพระเจ้าโท้ แต่เดิมชื่อว่าวัดพระธาตุเจดีย์สูง มีหลวงพ่อพระเจ้าโท้ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญคู่บ้านคู่เมืองพิสดาร (เมืองฮอด) มาตั้งแต่สมัยโบราณตามตำนานจามเทวีวงค์ กล่าวไว้ว่า พระนางเจ้าจามเทวีทรงสร้าง ในปี พ.ศ.1200 ซึ่งในขณะนั้นพระนางเจ้าจามเทวี ได้เสด็จมาทางชลมาศ(เรือ) พร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลายเพื่อจะไปครองเมืองหริภุญชัย(เมืองลำพูนปัจจุบัน) ระหว่างการเสด็จนั้น เหล่าข้าราชบริพารทั้งหลาย ได้ล้มตายเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้พระนางเจ้าจามเทวีทรงโทรมนัสเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีพระราชดำริให้บำเพ็ญพระราชกุศลแด่ ข้าราชบริพารเหล่านั้น จึงได้มีพระราชเสาวนีย์ตรัสปรึกษากับพญาแขนเหล็ก พญาบ่เพ็ก พญาแสนโท พร้อมกับเสนาอำมาตย์และราชครูทั้งหลายว่าเราควรรู้จัก หยั่งขบวนเสด็จนะที่นี้ เพื่อจักทำการกุศลเพื่อจะได้สร้างเมืองบริเวณนี้ (วัดพระเจ้าโท้เมืองฮอดในปัจจุบัน) รวมทั้งได้ก่อสร้างพระพุทธเจ้าเจดีย์องค์สารูปต่างๆ ซึ่งพระนางจามเทวีได้พระราชทานนามเมืองว่า "พิสดารนคร" (เมืองฮอดในปัจจุบัน) ภายหลังพิสดารนครถึงการล้มสลายด้วยการโจมตีของพม่าเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ต้องประสบความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก พิสดารนครที่เคยรุ่งเรืองมาแต่ก่อน จึงได้ถูกเปลี่ยนขนานนามว่า "เมืองหอด" ซึ่งแปลว่า แห้งแล้ง , โหยหา , อ่อนล้า , อับจน

        ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ ให้มีความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์และมีความโดดเด่นด้านการเกษตร เมื่อมีความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์แล้ว "เมืองหอด" แต่เดิมที่ชาวบ้านเรียกขาน ได้ถูกเปลี่ยนแปลงและขนานนามว่า "เมืองฮอด" ซึ่งแปลว่า ความสำเร็จ , ลุล่วง ถึงจุดหมายปลายทาง เป็นที่ขนานนามเรียกว่า "เมืองฮอด" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
        ในสมัยนั้นเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ประมาณ 5 เดือน จึงทำให้วัดทุกวัดรวมถึงวัดพระเจ้าโท้เมืองฮอด ที่ตั้งอยู่บริเวณเมืองพิศดารนครกลายเป็นวัดร้างจนมาถึงในปี พ.ศ.2514 ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยการนำของท่าน ดร.อำนวย ยศสุข ร่วมกับ กำนันสงบ กันทะแก้ว พร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวบ้านในอำเภอฮอด ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดพระเจ้าโท้ เมืองฮอดที่ถูกปล่อยรกร้างมานาน พร้อมกันนั้นได้ร่วมใจกันสร้างวิหารครอบองค์หลวงพ่อพระเจ้าโท้ และสร้างอนุเสาวรีย์องค์พระนางเจ้าจามเทวี ไว้เป็นที่สักการบูชาของพระพุทธศาสนิกชนทั่วไป ถ้าหากมีโอกาสก็อย่าลืมแวะมาเที่ยวชมวัดพระเจ้าโท้ใน อ.ฮอด กันได้วัดพระเจ้าโท้ ใน อ.ฮอด เป็นวัดเด่น วัดสวยและมีประวัติศาสตร์ จนอยากจะมาแนะนำให้ได้ไปเที่ยวชมกัน
การเดินทางมายังวัดพระเจ้าโท้นั้น ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่ – ฮอด) ขับรถผ่านแยกหอนาฬิกาอำเภอฮอด และขับรถตรงไปทางถนนสายอารยธรรมทางหลวงหมายเลข 1012 (ฮอด - บ.วังลุง) ผ่านสามแยกไปอำเภอดอยเต่า ผ่านโรงพยาบาลฮอด ผ่านวัดหลวงฮอด และขับรถตรงไปเรื่อยๆ จากสามแยกไปอำเภอดอยเต่าถึงวัดพระเจ้าโท้ ประมาณ 12 กิโลเมตร ด้วยกัน วัดพระเจ้าโท้ แต่เดิมชื่อว่าวัดพระธาตุเจดีย์สูง มีหลวงพ่อพระเจ้าโท้ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญคู่บ้านคู่เมืองพิสดาร (เมืองฮอด) มาตั้งแต่สมัยโบราณตามตำนานจามเทวีวงค์ กล่าวไว้ว่า พระนางเจ้าจามเทวีทรงสร้าง ในปี พ.ศ.1200 ซึ่งในขณะนั้นพระนางเจ้าจามเทวี ได้เสด็จมาทางชลมาศ(เรือ) พร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลายเพื่อจะไปครองเมืองหริภุญชัย(เมืองลำพูนปัจจุบัน) ระหว่างการเสด็จนั้น เหล่าข้าราชบริพารทั้งหลาย ได้ล้มตายเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้พระนางเจ้าจามเทวีทรงโทรมนัสเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีพระราชดำริให้บำเพ็ญพระราชกุศลแด่ ข้าราชบริพารเหล่านั้น จึงได้มีพระราชเสาวนีย์ตรัสปรึกษากับพญาแขนเหล็ก พญาบ่เพ็ก พญาแสนโท พร้อมกับเสนาอำมาตย์และราชครูทั้งหลายว่าเราควรรู้จัก หยั่งขบวนเสด็จนะที่นี้ เพื่อจักทำการกุศลเพื่อจะได้สร้างเมืองบริเวณนี้ (วัดพระเจ้าโท้เมืองฮอดในปัจจุบัน) รวมทั้งได้ก่อสร้างพระพุทธเจ้าเจดีย์องค์สารูปต่างๆ ซึ่งพระนางจามเทวีได้พระราชทานนามเมืองว่า "พิสดารนคร" (เมืองฮอดในปัจจุบัน) ภายหลังพิสดารนครถึงการล้มสลายด้วยการโจมตีของพม่าเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ต้องประสบความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก พิสดารนครที่เคยรุ่งเรืองมาแต่ก่อน จึงได้ถูกเปลี่ยนขนานนามว่า "เมืองหอด" ซึ่งแปลว่า แห้งแล้ง , โหยหา , อ่อนล้า , อับจน
        ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ ให้มีความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์และมีความโดดเด่นด้านการเกษตร เมื่อมีความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์แล้ว "เมืองหอด" แต่เดิมที่ชาวบ้านเรียกขาน ได้ถูกเปลี่ยนแปลงและขนานนามว่า "เมืองฮอด" ซึ่งแปลว่า ความสำเร็จ , ลุล่วง ถึงจุดหมายปลายทาง เป็นที่ขนานนามเรียกว่า "เมืองฮอด" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน    ในสมัยนั้นเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ประมาณ 5 เดือน จึงทำให้วัดทุกวัดรวมถึงวัดพระเจ้าโท้เมืองฮอด ที่ตั้งอยู่บริเวณเมืองพิศดารนครกลายเป็นวัดร้างจนมาถึงในปี พ.ศ.2514 ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยการนำของท่าน ดร.อำนวย ยศสุข ร่วมกับ กำนันสงบ กันทะแก้ว พร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวบ้านในอำเภอฮอด ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดพระเจ้าโท้ เมืองฮอดที่ถูกปล่อยรกร้างมานาน พร้อมกันนั้นได้ร่วมใจกันสร้างวิหารครอบองค์หลวงพ่อพระเจ้าโท้ และสร้างอนุเสาวรีย์องค์พระนางเจ้าจามเทวี ไว้เป็นที่สักการบูชาของพระพุทธศาสนิกชนทั่วไป ถ้าหากมีโอกาสก็อย่าลืมแวะมาเที่ยวชมวัดพระเจ้าโท้ใน อ.ฮอด กันได้

02 มีนาคม 2565

วัดเจดีย์น้อย,องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด,hod.go.th

วัดพระธาตุเจดีย์น้อย ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง หมู่ 1 แควมะกอก ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 

ตามคำบอกเล่า ผู้เฒ่า ผู้แก่ว่า…พระนางจามเทวี เป็นผู้สร้าง เจดีย์น้อย ซึ่งเป็นองค์เล็กแล้ว
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2473 ครูบาเจ้าศรีวิไชย ได้มาสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ครอบเจดีย์น้อยองค์เดิม
แล้วต่อมาเมื่อ เดือนยี่เหนือขึ้น 6 ค่ำ วันที่ 13 พ.ศ. 2542 ได้มี พระอาจารย์ อธิการ อานันท์ อานนฺโท เจ้าอาวาส วัดดอนจั่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พร้อมด้วยคณะศิษย์ได้บูรณะ พระธาตุเจดีย์น้อยและสร้าง ศาลาทรงศีล และ ศาลาทรงธรรม และพัฒนารอบบริเวณเจดีย์น้อย เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา อาจาริยะบูชา

การเดินทางไปวัดพระธาตุเจดีย์น้อย ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ (เชียงใหม่ – ฮอด) ระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ถึงเขตติดต่ออำเภอจอมทองประมาณ ๘๘ กิโลเมตร ขับรถผ่านแยกหอนาฬิกาอำเภอฮอด ผ่านสถานีตำรวจภูธรฮอด และขับรถตรงไปทางถนนสายอารยธรรมหลวงหมายเลข ๑๐๑๒ (ฮอด - บ.วังลุง) ผ่านสามแยกไปอำเภอดอยเต่า ผ่านโรงพยาบาลฮอด และขับรถตรงไปเรื่อยๆ จากเขตติดต่ออำเภอจอมทองถึงวัดพระธาตุเจดีย์น้อยประมาณ ๑๑ กิโลเมตร หรือ จากสามแยกไปอำเภอดอยเต่าถึงวัดพระธาตุเจดีย์น้อยประมาณ ๗ กิโลเมตร ซึ่งวัดพระบาทแก้วข้าวจะถึงก่อนวัดพระธาตุเจดีย์น้อย ประมาณ ๒๐๐ เมตร 

02 มีนาคม 2565

ผาวิ่งชู้,องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด,hod.go.th

ผาวิ่งชู้

ผาวิ่งชู้ เป็นผาหินทรายขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง และมีเสาดินขนาดเรียวเล็กรูปทรงสวยงาม เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกซึ่งเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่องปรากฏเป็นชั้นหินที่มีอายุแตกต่างกันมากกว่าสิบล้านปี และมีการกัดเซาะโดยลม ฝน น้ำ ทำให้ตะกอนที่จับตัวเป็นหินหลุดแยกออกจากกันไปตามวันเวลา และแฝงไปด้วยตำนานแห่งความรักของหญิงชายต่างฐานันดรซึ่งพร้อมใจกันกระโดดหน้าผาอันสูงชันเพื่อจบชีวิตสู่แม่น้ำปิงเบื้องล่าง

เรื่องเล่าตำนาน ผาวิ่งชู้ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ในตำนานพิสดารนคร ยังได้กล่าวถึง ผาวิ่งชู้ (ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่บ้านดงดำ ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และกลายเป็นจุดชมวิวที่งดงามแห่งหนึ่งของอำเภอฮอด)

โดยในตำนานพิสดารนคร ตอนหนึ่ง ระบุไว้ว่า พระนางจามเทวีเมื่อสร้างเมืองพิสดารนครแล้ว ได้มอบหมายให้พระยาแสนโทปกครองเมืองพิสดารนคร(ฮอด)ต่อ พระยาแสนโทมีบุตรหญิง 1 คนชื่อพระนางแอ่นฟ้า และมีบุตรชาย 1 คน ชื่อพระนาย ต่อมาพระนางแอ่นฟ้าเกิดรักใคร่กับลูกของเสนาผู้หนึ่ง ชื่อน้อยสิงห์คำ ปัญหารักที่ต่าง ฐานันดร ข่าวทราบถึงพญาแสนโทจึงเรียกทั้งสองไปว่ากล่าวตักเตือนหากฝ่าฝืนกฎมณเฑียรบาลมีโทษถึงประหารชีวิต แต่ด้วยรักแท้ที่ทั้งสองมีต่อกันพระนางแอ่นฟ้ากับน้อยสิงห์คำจึงได้พากันหนีออกจากเมืองในเวลากลางดึกสงัด โดยทั้งสองได้ขี่ม้าสีขาวมุ่งออกจากเมืองพิสดารนคร โดยทันทีฝ่ายพระนายผู้น้องเห็นผิดสังเกตจึงเข้าไปดูยังห้องบรรทมของพระนาง แต่ไม่พบจึงนำความเข้าไปกราบทูลบิดา

พระยาแสนโททรงกริ้วมากเรียกเสนาอำมาตย์และทหารออกติดตามตลอดทั้งคืนพร้อมด้วยพระนายและรับสั่งว่าถ้าพบทั้งสองให้ลงโทษประหารชีวิตเสียทันที

เสียงฝีเท้าม้ากระทบแผ่นดินสะเทือนเลือนลั่น กระชั้นชิดเข้าใกล้ ขณะนั้นพระนางแอ่นฟ้าและน้อยสิงห์คำเห็นจวนตัวจึงปรึกษากัน ณ ริมป่าชายทางว่าอยู่ก็ตายไปก็ตาย เราจะกระโดดหน้าผาอันสูงชันนี้ตายด้วยกันทั้งสองคน เห็นควรแล้วจึงเอาผ้าขาวผูกตาม้าเพราะไม่อยากให้เห็นหน้าผาที่สูงลิ่ว

พระนางแอ่นฟ้าเห็นว่า น้อยสิงห์คำไม่กล้าบังคับม้าให้กระโดดหน้าผา จึงเปลี่ยนเป็นผู้ขี่ม้าน้อยสิงห์คำนั่งซ้อนท้ายแล้วให้เฆี่ยนม้าอย่างแรงด้วยความเจ็บและตกใจม้าจึงวิ่งออกไปอย่างรวดเร็วกระโดดลงหน้าผาที่สูงชันกว่าห้าสิบเมตรร่างทั้งสองและม้าลอยละลิ่วตกลงเบื้องล่างสู่ ห้วงน้ำแม่ระมิงค์จมไปกับกระแสน้ำหน้าผาแห่งนี้จึงเรียกว่า ‘ผาวิ่งชู้’ ร่างของน้อยสิงห์คำลอยไปติดท่าน้ำห่างออกไปสองกิโลเมตรจึงเรียกที่นั้นว่า ‘บ้านน้อย’ ร่างของพระนางแอ่นฟ้าลอยไปติด ท่าน้ำแห่งหนึ่ง ต่อมาเรียกว่า ‘บ้านแอ่น’ ส่วนผ้าขาวที่ปิดตาม้าจมอยู่ทางทิศเหนือจึงเรียกจุดนั้นว่า ‘วังผ้าขาว’ ร่างของม้าลอยไปติดอีกไม่ไกลนักทางทิศใต้เรียกกันว่า ‘ท่าม้า’

ส่วนขบวนติดตามของพระนายและทหารติดตามถึงหน้าผาเห็นรอยม้ากระโดดลงหน้าผาจึงถอยม้าหยุดนิ่ง ต่างรู้สึกเสียใจและอาลัยอาวรณ์อย่างยิ่งนัก จนทำให้พระนายผู้น้อง เสียใจตรอมใจจนขาดใจตายข้างลำห้วยที่ติดอยู่กับหน้าผาแห่งนั้น ที่ตรงนั้นจึงเรียกว่า ‘ห้วยพระนาย’ นับแต่นั้นมา พ่อแม่ฝ่ายหญิงก็เสียใจ มาทำบุญให้โดยทิ้งของทำบุญลงน้ำ ของต่าง ๆ ก็ลอยไปติดตามที่ต่าง ๆ เกิดเป็นชื่อหมู่บ้านขึ้นอีก เช่น ข้าวแต๋น กลายเป็น บ้านผาแตน หม้อ กลายเป็นวังหม้อ สลุง กลายเป็นวังสลุง หรือวังลุง เป็นต้น

ตั้งอยู่ที่บ้านดงดำ ตำบลฮอด ใช้เส้นทาง ฮอด-นาลุง ซึ่งจะผ่านบ้านฮอดหลวง แยกซ้ายข้ามสะพานถึงบ้านดงดำ ไปอีก 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายตรงเข้าสู่จุดชมวิวผาวิ่งชู้ด้านที่เป็นรอยเลื่อน หรือใช้เส้นทาง ฮอด-ดอยเต่า หมายเลข 1103 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร ผ่านกิโลเมตรที่ 53 จะมีทางแยกขวาไปบ้านดงดำ 3 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าถนนกรวดไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงจุดชมวิวบนสันของหน้าผา ผาวิ่งชู้
เส้นทาง : 18.092922, 98.610087

23 มิถุนายน 2563

1

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1  (3 รายการ)