ยินดีต้อนรับเข้าสู่องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สายด่วนนายกฯ โทร 096-9362149 สายด่วนรองนายกฯ โทร 098-5366406 , 099-4124330

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

ปลัด




ศาลปกครอง

ปราบปรามทุจริต

E-Learning



ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอบต

ศูนย์ดำรงธรมม







สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 17/06/2563
วันนี้
61
เมื่อวานนี้
43
เดือนนี้
292
เดือนที่แล้ว
1,622
ปีนี้
11,188
ปีที่แล้ว
17,414
ทั้งหมด
39,060
ไอพี ของคุณ
3.227.251.94

อำนาจหน้าที่
 

อำนาจหน้าที่ของ อบต.
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)

2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
          1. จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
                    (๑/๑) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
          2. การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล
          3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
          4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
          5. จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน    รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและ
               พัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
          6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
          7. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
          9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ ตามความจําเป็นและสมควร

3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
          1. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
          2. ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
          3. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
          4. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
          5. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
          6. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
          7. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
          8. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
          9. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
          10.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
          11.กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
          12.การท่องเที่ยว
          13.การผังเมือง
 
          อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของ ประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร ในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือ หน่วยงานของรัฐ นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย (มาตรา 69)

          การปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล การจัดทํางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างการตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด (มาตรา 69/1)

          เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูล หรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา 70)

          องค์การบริหารส่วนตําบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย หรืออํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล ในการนี้จะกําหนดค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บและกําหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่มิให้กําหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาทเว้นแต่จะมีกฏหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
          ร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล จะเสนอได้ก็แต่คณะผู้บริหาร หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล หรือราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
          ในกรณีที่นายอําเภอไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลใด ให้ส่งคืนสภาองค์การบริหารส่วนตําบลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายอําเภอได้รับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลดังกล่าวเพื่อให้สภาองค์การบริหารส่วนตําบลพิจารณาทบทวนร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลนั้นใหม่ หากนายอําเภอไม่ส่งร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลคืนสภาองค์การบริหารส่วนตําบลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายอําเภอได้รับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลดังกล่าว ให้ถือว่านายอําเภอเห็นชอบกับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลนั้น
          เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนตําบลพิจารณาทบทวนร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลตามวรรคสี่แล้ว มีมติยืนยันตามร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลลงชื่อและประกาศเป็นข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากนายอําเภอ แต่ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนตําบลไม่ยืนยันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลคืนจากนายอําเภอหรือยืนยันด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลนั้นเป็นอันตกไป (มาตรา 71)

          การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
                เพื่อประโยชน์แก่กิจการขององค์การบริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนตําบลอาจ ขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการ บริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไปดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติกิจการขององค์การบริหารส่วนตําบลเป็นการ ชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม ทั้งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอํานาจอนุญาตได้ตามความ จําเป็น และในกรณีที่เป็นข้าราชการซึ่งไม่อยู่ในอํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัดให้กระทรวงมหาดไทยทํา ความตกลงกับหน่วยงานต้นสังกัดก่อนแต่งตั้ง (มาตรา 72)

          องค์การบริหารส่วนตําบลอาจทํากิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตําบล หรือร่วมกับสภาตําบล องค์การบริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทํากิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตําบล องค์การ บริหารส่วนตําบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และ กิจการนั้นเป็นกิจการที่จําเป็นต้องทําและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของตน (มาตรา 73)